มุมมองนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลมองการศึกษาในศตวรรษที่ 21


Warning: Undefined variable $content in C:\xampp\htdocs\international\wp-content\plugins\facebook-share-new\facebookshare.php on line 636

 


เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 ผมมีโอกาสได้เข้าฟัง lecture พิเศษ ของ Sir Harold Walter Kroto ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการค้นพบ สารประกอบคาร์บอนชื่อว่า Fullerences หรือ C60 เมื่อปี 1996 การมาของ Sir Kroto ครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการของ International Peace Foundation ซึ่งจะนำผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาต่างๆมาบรรยายปาฐกถาที่มหาลัยวิทยาลัยหรือสถานศึกษาต่างๆและทำโครงการเพื่อการสื่อสารสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันเพื่อสันติภาพ

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า lecture อันนี้ไม่ใช่ lecture เกี่ยวกับสูตรเคมียากๆแต่อย่างใด แต่เป็น lecture เกี่ยวกับมุมมองของ Sir Kroto เองที่มีต่อการศึกษา KROTOHIGHREZSir Kroto บอกว่าการเรียนคอร์สต่างๆผ่านอินเตอร์เน็ต จะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการศึกษา ส่วนการเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือการมีเพื่อนฝูง การพูดคุยกับผู้อื่น คือสิ่งสำคัญ ส่วนภาระสำคัญของอาจารย์นั้น Sir Kroto บอกว่า main task of teacher is to unlock creativity คือการปลดปล่อยจินตนาการของเด็กออก หรือการสอนให้เด็กคิดเองเป็นนั่นเอง

Sir Kroto ก็ชี้ให้เห็นตัวอย่างของการศึกษาปัจจุบันที่กำลังไปผิดทางว่า ทุกวันนี้ทุกคนเชื่อว่า โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ อย่างไม่มีเหตุผลมาสนับสนุน ว่าทำไมมันถึงหมุนรอบดวงอาทิตย์ เราแค่เชื่อตามสิ่งที่เรียนมา หรือสิ่งที่คนอื่นบอกมาอย่างไม่สงสัย ความมีอิสระในการสงสัย หรือ Freedom to doubt ของเรากำลังถูกคุกคามอยู่

ตลอดทั้ง lecture Sir Kroto ก็จะโชว์สิ่งที่เขาสะสม เช่น Sir Kroto ชอบสะสมโปสการ์ดแจกฟรี หรือตัดรูปภาพสวยๆเอาจาก Magazine แล้วก็เก็บไว้ นอกจากสิ่งที่สะสม Sir Kroto ก็ยังชอบดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีตาร์ ชอบออกแบบโลโก้ แล้วก็เคยส่งโลโก้ที่ตัวเองออกแบบไปจนได้รางวัล Sir Kroto บอกว่าสิ่งเหล่าเนี่ยแหละที่ทำให้เขาเป็นเขาอย่างทุกวันนี้ คือเขาเรียก Process นี้ว่า Synthesis คือการเชื่อมสิ่งต่างๆเขาด้วยกันแล้วเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้น โดย Sir Kroto ก็ยกคำของ Picasso มาที่บอกว่า “Good artists copy, great artist steal”

แล้ว Sir Kroto ก็จบ Lecture หน้าสุดท้ายที่ภาพลิงเหมือนกำลังทำท่าสงสัยอะไรอยู่

 

ผู้เขียน: อ.รพีภัทร มานะสุนทร, อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

Rajamangala International Business Administration Rattanakosin (RIBAR)


 

ส่งความเห็นที่ นิรนาม ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น